วันศุกร์ , เมษายน 19 2024
Breaking News
Home / สุขภาพ / การดูแลสุขภาพตามวัย (Health Care in Differently Age Population)

การดูแลสุขภาพตามวัย (Health Care in Differently Age Population)

การดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในวัยผู้ใหญ่

    วัยผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

    1. วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว

        อายุตั้งแต่ 20-25 ปีถึง 40 ปี วัยนี้มีพัฒนาการเต็มที่ของร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์ พร้อมที่จะ มีบทบาทที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนในเรื่องอาชีพ คู่ครอง และความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ อย่างมีความหมาย

    2. วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน

        อายุตั้งแต่ 40 ปีถึง 60-65 ปี เป็นวัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่ง มีความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิต

    3. วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ

        อายุตั้งแต่ 60-65 ปีขึ้นไป เป็นวัยของความเสื่อมถอยของร่างกาย สภาพจิตใจ และบทบาททางสังคม การปรับตัวต่อความเสื่อมถอยและการเผชิญชีวิตในบั้นปลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของวัยนี้ ในที่นี้จะแยกวัยผู้ใหญ่ตอนปลายออกไปเป็นวัยสูงอายุ

    ปัญหาที่พบในวัยผู้ใหญ่

    ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านร่างกาย ได้แก่

  • การเข้าสู่วัยทองของผู้ชายและการหมดประจำเดือนในผู้หญิงหรือสตรีวัยทอง (menopause)
  • ปัญหาการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
    – การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
    – การขาดการออกกำลังกาย
    – การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
    – โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ เช่น ความร้อน ความเย็น แสง เสียง การสั่นสะเทือน
    – โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพ เช่น โรคแอนแทรกซ์ โรคปอดชานอ้อย
    – โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมี เช่น พิษจากตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ฝุ่นแร่ใยหิน ฝุ่นซิลิกา เบนซีน

    ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประชากรวัยทำงานอายุ 15-60 ปี ของไทย มีความเสี่ยงทางสุขภาพ 5 อันดับแรก ได้แก่

    1. โรคอ้วน เกิดจากการขาดการออกกำลังกายและกินอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป

  • อ้วนลงพุง (Abdominal Obesity)รอบเอวที่เหมาะสม (ซม.) จะต้องมีค่าไม่เกินส่วนสูง (ซม.) หาร 2 ดังตัวอย่าง หรืออาจเทียบกับค่ามาตรฐานโดยทั่วไปของชาวเอเชีย คือ
    – ชายไม่เกิน 35.4 นิ้ว
    – หญิงไม่เกิน 31.5 นิ้ว

    2. โรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวานปัจจัยเสียงของโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ควรวัดความดันโลหิตเป็นประจำเมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ ค่าที่เหมาะสมคือ ไม่เกิน 120/80
  • ไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) ส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคอาหาร ควรเจาะเลือดเพื่อตรวจคัดเกรองต้องแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป
  • สูบบุหรี่ (Smoking) ทั้งที่เป็นผู้สูบเอง และได้สูดดมควันบุหรี่จากคนใกล้ชิดที่เรียกว่า “บุหรี่มือสอง”
  • ไม่มีการออกกำลังกาย (Physical inactivity; Sedentary lifestyle)

    3. โรคมะเร็งระบบสืบพันธุ์ พบมากโดยเฉพาะในผู้หญิง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม

    4. โรคจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ นำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง หลอดเลือดสมองตีบ และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

    5. ปัญหาสุขภาพจิต เช่นโรคซึมเศร้า/โรคเครียด วัยทำงานเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากสถานภาพทางการเงินและเรื่องงาน

    ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านจิตใจ

  • วิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เสื่อมลง วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ
  • มีภาวะเครียดจากปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว
  • วิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตสมรส
  • ปัญหาเกี่ยวกับปัญหาของบุตร

    ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านสังคม

  • ปัญหาการปรับตัวในการประกอบอาชีพ
  • ปัญหาเรื่องการเลือกคู่ครอง
  • ปัญหาชีวิตสมรส
  • ปัญหาการปรับตัวให้เข้ากับบทบาทใหม่
  • ปัญหาสัมพันธภาพกับเพื่อนใหม่

    ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านจิตวิญญาณ

  • มีความกดดันเนื่องจากไม่สามารถแสดงศักยภาพด้านสติปัญญาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากขาดโอกาสในสังคมและที่ทำงานขาดการยอมรับ
  • ขาดที่พึ่งทางจิตวิญญาณเนื่องจากไม่สามารถจัดสรรเวลาไปปฏิบัติศาสนกิจได้

    แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่

    1. แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่ด้านร่างกาย

        1.1 สร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
– ให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น สาเหตุ อาการและอาการแสดง เช่น ปัญหาความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ปัญหาหมดประจำเดือน หรือชายวัยทอง
– แนะนำการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น และวิธีการชะลอความเสื่อมถอยของร่างกาย โดยเลือกอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการผ่อนคลายความตึงเครียด

        1.2 คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย
– การออกกำลังกาย
– การรับประทานอาหาร
– สนับสนุนให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี

        1.3 สร้างเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

        1.4 สร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การกดจุด การฝังเข็ม การใช้น้ำมันหอมระเหย การบำบัดด้วยโภชนาการและอาหาร ดนตรีบำบัด เป็นต้น

    2. แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่ด้านจิตอารมณ์

        2.1 พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับตน และในส่วนที่สัมพันธ์กับผู้อื่น

        2.2 สร้างเสริมเทคนิคการจัดการความเครียด

        2.3 สร้างเสริมสุขภาพจิตหญิงวัยหมดประจำเดือนและชายวัยทอง

        2.4 ส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธีและให้กำลังใจในการเผชิญปัญหา

    3. แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่ด้านสังคม

        3.1 ส่งเสริมการปรับตัวเข้ากับแบบแผนชีวิตแบบใหม่และบทบาทในสังคม เช่น การเตรียมตัวมีคู่ชีวิต การปรับตัวเข้ากับคู่ครอง

        3.2 ส่งเสริมความผูกพันของพ่อแม่กับลูกวัยทารก

        3.3 ส่งเสริมการบริหารเวลาที่เหมาะสม

    สรุป วัยผู้ใหญ่

        วัยผู้ใหญ่ตอนต้นร่างกายมีความสามารถสูงสุด มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น กลุ่มเพื่อนลดน้อยลง มีการปรับเปลี่ยนบทบาทมากมาย ปัญหาที่เกิดขึ้นในวัยนี้ที่สำคัญคือ ความผิดหวังในความรัก การไม่สามารถปรับตัวกับบทบาทใหม่

        ในวัยกลางคน ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลง เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ โ ดยเฉพาะในเพศหญิงการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมาได้ ในวัยนี้ส่วนใหญ่บุคคลจะมีบุคลิกภาพและอารมณ์มั่นคง มีความพึงพอใจกับชีวิตที่ผ่านมา และควรได้มีการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุต่อไป

 

ขอบคุณที่มาจาก : meded

Facebook Comments

Check Also

8 ท่าเด็ด ออกกำลังกายบนเตียงทุกเช้า รับวันใหม่ให้สดชื่น

เปลี่ยนเช้าที่แ …