หลายคนประสบปัญหาเล่นเวทแล้วหน้ามืดบ่อยๆ ซึ่งเหตุผลหลักๆ มักจะมาจากการหายใจผิดวิธี โดยมักจะรู้ตัวหรือ พยายาม force การหายใจก็แล้วแต่
ปัญหาหน้ามืดบ่อยครั้งเวลายกเวท สามารถแก้ได้ด้วยเทคนิค Valsavar Maneuver
โดยจากหลักการที่คนทั่วไปรู้กันคือ
- เวลาเราออกแรงให้ หายใจออก(concentric – exhale)
•เวลาเราต้านแรงให้ หายใจเข้า(Eccentric – inhale)
แต่ปัญหาที่มักจะเกิดคือ
- เวลายกเวทแล้วกลั้นหายใจไปเลย โดยไม่รู้ตัว
- หายใจถูกต้องแต่ หายใจเข้า หายใจออก สั้นเกินไป
- หายใจเข้าเยอะและเบ่ง (สร้าง แรงดัน) เยอะเกินไป
จากที่เราเรียนรู้เรื่องการฝึกควบคุมลมหายใจให้มีประสิทธิภาพและเป็นวิธีการหายใจที่จะทำให้ หายใจได้ลึกขึ้นคือ
การหายใจลงท้อง ไม่ใช่หายใจเข้าแล้วอกขยาย (แต่ต้องเป็นการหายใจเข้าท้องป่อง)
= ฝึกการหายใจ
หายใจเข้าท้องป่อง
หายใจออกท้องยุบ (ฟังดูเหมือนทำสมาธิ)!
วืธีการเช่นนี้ จะทำให้หายใจได้ลึกขึ้น รู้สึกปลอดโปร่งมากขึ้น และเรายังนำไปใช้กับเทคนิคการสร้างความเสถียรเวลายกเวทหนักๆได้ด้วย
เทคนิคที่ว่านี้หรือที่เรียกกันว่า valsavar maneuver
เทคนิคนี้จะเป็นการสร้างแรงดันในท้อง เพื่อให้เกิดความเสถียรเวลายก
ให้ลองฝึก
- หายใจเข้าลงท้อง
2.แต่คราวนี้ในขณะเดียวกันให้พยายามเกร็งท้องไม่ให้พุงนั้นป่องออกมา
3.หดพุงได้เยอะ + หายใจลงท้องเยอะ ยิ่งสร้างแรงดัน
4.สังเกตุว่า ท้องจะแข็ง ตัวก็จะแข็งเหมือนเหมือนเป็นไม้แข็งๆท่อนนึง
ทีนี้เวลาที่เราไปยกเวท เช่น ท่า squat หนักๆ เล่นจำนวนครั้งน้อยๆ ก็ประยุกต์ใช้เทคนิคนี้เพื่อ รักษาแนวกระดูกสันหลังให้คงที่ ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้
ตามลำดับ
1. เมื่อแบกบาร์ก่อนลงไปนั่ง > หายใจเข้าลงท้อง หดท้องเพื่อสร้างแรงดัน
- จังหวะขึ้น ที่คิดว่ายกได้พ้น ขึ้นแล้วแน่นอน > หายใจออก
การหายใจโดยใช้เทคนิคนี้ที่มัก เป็นข้อผิดพลาดกันบ่อยก็คือ
- เล่นจำนวนครั้งสูงแต่น้ำหนักเบา 50-60% of 1rm แต่ใช้แรงดัน เยอะเกิน ทำให้หน้ามืดเสียก่อน
- หายใจเข้าลึกมากๆเกิน หดท้องมาก ทำให้เกิดแรงดัน ที่มากเกิน จึงทำให้ หน้ามืดและแรงตกแทน (ให้ลองทดสอบโดยหดท้อง พร้อมหายใจลงท้องให้ลึกมากๆกลั้นไว้ 3-4 วินาที ก็จะพบว่า หน้ามืด)
- คนที่เป็นความดัน ควรระมัดระวังอย่างมากในการใช้เทคนิคนี้ หรือ อาจใช้เข็มขัดเป็นตัวช่วย
เทคนิคนี้ ควรจะ
- หายใจเข้า ประมาณ 70-80% ของการหายใจเข้าสุด ทั้ง100
• ใช้กับพวก ยกเวทหนักๆ แต่จำนวนครั้งน้อย
• ถ้าเป็นการยกเวทด้วยจำนวนครั้งสูงๆ แต่น้ำหนักที่ใช้เบา การหายใจตามปกติในชีวิตประจำวัน หรือ หายใจเป็นไปตามกลไกธรรมชาติโดยไม่กลั้นหายใจ ก็เพียงพอแล้ว
• ถ้ายก-ผ่อนด้วยจังหวะที่ช้ากว่าปกติมากๆ extremely slow movement ให้หายใจเท่าที่ต้องการได้เลยอย่ากลั้นนานๆ เพื่อรอหายใจออกจังหวะยก หรือ รอหายใจเข้าจังหวะผ่อน
ขอบคุณที่มาจาก: teambeyondsport.com
Facebook Comments