วันเสาร์ , กรกฎาคม 27 2024
Breaking News
Home / อาหาร / โรคขาดวิตามินเอ โรคทางโภชนาการที่พบในเด็ก

โรคขาดวิตามินเอ โรคทางโภชนาการที่พบในเด็ก

โรคขาดวิตามินเอ มักพบบ่อยในเด็ก เนื่องจากวิตามินเอ ถือได้ว่าเป็นวิตามินชนิดหนึ่ง ที่สามารถละลายในไขมันได้ อีกทั้งยังคงพบได้มากในน้ำมันตับปลา ตับ ไข่แดง พืชใบเขียวทุกชนิด และผลไม้สีส้ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอโดยตรง โดยเฉพาะ ตับ ถือได้ว่าเป็นแหล่งสะสมของวิตามินเออย่างมากที่สุดเลยทีเดียว

สาเหตุหลัก ๆ ของการขาดวิตามินเอ

  1. เนื่องจากผู้ป่วยมีลักษณะขาดอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เลือกบริโภคข้าวเป็นหลัก เนื่องจากข้าวที่บริโภคกันอยู่นี้ ประกอบไปด้วยวิตามินเอค่อนข้างต่ำ หากไม่รับประทานผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอร่วมด้วย ย่อมส่งผลทำให้ขาดวิตามินเอได้อย่างแน่นอน
  2. มีผลมาจากการดูดซึม หรือการสะสม หรือแม้กระทั่งกลไกภายในร่างกายที่ผิดปกติไป เช่น การเกิดโรคท้องร่วงเรื้อรัง การเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยเป็นโรคท่อน้ำดีอุดตัน เป็นต้น
  3. ผู้ที่มีลักษณะรับประทานอาหารน้อย
  4. ผู้ที่ดื่มสุราอย่างเป็นประจำ

อาการโดยรวมของผู้ป่วยที่ขาดวิตามินเอ

ความรุนแรงของโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินเอนั้น หากผู้ป่วยขาดวิตามินเอตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กเล็ก โรคขาดวิตามินเอย่อมส่งผลรุนแรงได้ในทันที

อาการที่เกิดขึ้นได้ต่อระบบการมองเห็น

  1. ผู้ป่วยอาจจะมีอาการตาบอดกลางคืน  ถ้าหากผู้ป่วยเป็นเด็ก ย่อมส่งผลทำให้มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน หรือในที่มืด ส่งผลทำให้เด็กหกล้มได้อย่างง่าย ๆ
  2. ผู้ป่วยมีลักษณะตาแห้ง อาการตาแห้งที่ว่านี้ คือ อาการของตาขาวมีลักษณะแห้งและมีรอยย่น สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า สะเก็ดปลากระดี่ แต่ความสามารถในการมองเห็นนั้น ยังคงเป็นปกติเช่นเดิม
  3. ผู้ป่วยอาจเป็นตาวุ้น สำหรับในระยะแรก ผู้ป่วยจะต้องพบเจอกับกระจกตาที่แห้งและขุ่น ซึ่งต่อมากระจกตาจะเหลว เนื่องจากโปรตีนมีการติดเชื้อได้ง่ายนั่นเอง

อาการที่เกิดขึ้นได้ต่อระบบสืบพันธุ์

สำหรับผู้ป่วยเพศชาย อาจจะมีการสร้างฮอร์โมนเพศชายที่น้อยลง ส่วนผู้ป่วยเพศหญิง อัตราการผสมของไข่และน้ำเชื่อต่ำ พร้อมทั้งอัตราการเสียชีวิตของเด็กทารกในครรภ์เป็นไปได้สูง

อาการที่เกิดขึ้นต่อระบบการเจริญเติบโต

ในกลุ่มเด็กเล็กที่ขาดวิตามินเอ จะมีลักษณะการเจริญเติบโตช้า โดยเฉพาะกระดูกอ่อนและฟัน มีลักษณะการเติบโตที่ช้ากว่าปกติ ส่งผลทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมของเด็กกลุ่มนี้  มีการเจริญเติบโตที่ช้ามาก

อาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้ต่อระบบภูมิคุ้มกัน

ผู้ที่ขาดวิตามินเอ ย่อมมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่ลดลงไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการสร้างเม็ดเลือดขาวที่ผิวหนัง ผนังลำไส้ และผนังหลอดลม ทำให้

สามารถติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น และใช้ระยะเวลานานในการรักษาตัว

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ

กลุ่มเด็กเล็กหรือทารก

  1. เด็กทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ หรือทารกที่ได้กินนมแม่ แต่กลับอย่าหรือเลิกกินนมแม่เร็วจนเกินไป และใช้เลี้ยงต่อด้วยนมชนิดอื่น ๆ เข้ามาทดแทน ซึ่งถือได้ว่าเป็นนมที่ไม่เหมาะสมต่อวัยของเด็กทารกโดยตรง
  2. เด็กที่ไม่ได้รับอาหารตามวัย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สมควร
  3. กลุ่มเด็กที่มักจะมีการติดเชื้ออยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด หรือแม้กระทั่งอีสุกอีใส เป็นต้น
  4. กลุ่มเด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทโปรตีนหรือแม้กระทั่งพลังงาน
  5. กลุ่มเด็ก ๆ ที่ไม่ได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่มีความเหมาะสมกับวัยของพวกเขาอย่างแท้จริง

กลุ่มเด็ก ๆ ในวัยเรียนและผู้ใหญ่

  1. กลุ่มเด็ก ๆ ในวัยเรียนที่ขาดสารอาหารประเภทโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสม ซึ่งไม่ได้บริโภคอาหารที่มีวิตามินเอเป็นหลัก
  2. สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือสตรีที่กำลังให้นมบุตร
  3. สตรีที่มักจะเลือกงดอาหารที่ดีและมีประโยชน์

การวินิจฉัยโรคจากแพทย์

สำหรับโรคขาดวิตามินเอ ถือได้ว่าเป็นโรคที่จะมีการวินิจฉัยเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้เกิดอาการป่วยอย่างชัดเจนแล้วเสียส่วนมาก โดยที่มักจะพบผู้ป่วยที่มีอาการต่าง ๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นได้ว่า ผู้ป่วยอาจจะกำลังขาดวิตามินเอเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยที่มีกลุ่มเสี่ยงในการขาดสารอาหาร หรือผู้ป่วยที่มักจะเป็นโรคท้องร่วงเรื้อรัง ซึ่งแพทย์อาจจะทำการวินิจฉัย ด้วยการเจาะเลือดเพื่อที่จะตรวจหาระดับของวิตามินเอในร่างกายของผู้ป่วยโดยตรง

การป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นโรคขาดวิตามินเอ

สำหรับเด็ก ๆ หรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงว่าจะขาดวิตามินเอ  ควรป้องกันด้วยการให้วิตามินเอเพิ่มเติมประมาณ 200000 ยูนิตทุก ๆ 3-6 เดือนเป็นหลัก และที่สำคัญกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง ควรเน้นย้ำไปกับการรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอให้มากยิ่งขึ้น โดยอาหารที่ประกอบไปด้วยวิตามินเอคือ  พืชใบเขียว และ ผลไม้สีเหลือง  โดยเฉพาะเด็ก ๆ หรือกลุ่มคนที่เป็นโรค Celiac disease และโรคตับอ่อนเรื้อรัง ส่งผลทำให้มีอาการท้องร่วงอย่างเป็นประจำ ควรได้รับวิตามินเอเพิ่มเติมโดยตรง

ถึงแม้ว่าโรคขาดวิตามินเอ ยังคงเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าหากคุณรู้จักป้องกันตนเอง เพื่อไม่ต้องพบเจอหรือเสี่ยงกับการเป็นโรคชนิดนี้ ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณโดยรวมมากกว่า เนื่องจากวิธีการป้องกันโรคนี้ไม่ใช่เรื่องยาก และทุกคนก็ยังคงสามารถทำได้กันอย่างแน่นอน เพียงแค่คุณหันมาใส่ใจ และดูแลสุขภาพ ด้วยการรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์อย่างครบถ้วนให้มากยิ่งขึ้นก็เพียงพอ

ขอบคุณที่มาจาก : honestdocs.co

Facebook Comments

Check Also

กินเค็ม พฤติกรรมการน่าห่วง เสี่ยงปัญหาสุขภาพ

รสชาติที่จัดจ้า …