สำหรับเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เกิดมาในยุคที่ทุกๆ อย่างเชื่อมต่อกันด้วยอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าอยากจะหาข้อมูลอะไรก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการถาม อาจารย์กู (Google) แถมยังมีอุปกรณ์พิเศษอย่าง “สมาร์ทโฟน” ซึ่งมันเป็นอุปกรณ์ที่มีทุกๆ อย่าง อยู่ในตัวมันเองทั้งดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต ฯลฯ สำหรับบทความนี้เราจะพาย้อนเวลากลับไปดู 17 ไลฟ์สไตล์วัยรุ่นจากยุค 90 ที่วัยรุ่นสมัยนี้ไม่มีวันเข้าใจ
หากอยากจะจีบสาวสักคน จะไม่ใช่การเดินไปขอ Facebook หรือ Line แบบตอนนี้ แต่จะเป็นการขอเบอร์ “โทรศัพท์บ้าน”
เนื่องจากไม่มีมือถือไว้บันทึกเหมือนสมัยนี้ เราก็ต้องเตรียมกระดาษพร้อมปากกาเข้าไปจด
หากไม่กล้าเดินตรงหน้าด้านเข้าไปขอเบอร์โทรศัพท์บ้าน สิ่งที่พวกเราจะทำคือเขียนจดหมายแล้วฝากคนไปส่ง
บอกรักผ่านจดหมายวัยรุ่นสมัยนี้ทำกันไหม?
แน่นอนเมื่อเป็นเบอร์โทรศัพท์บ้าน ตอนเราโทรไปหาคนที่เราจะจีบ ก็ต้องไปลุ้นว่าจะเจอเจ้าตัวหรือจะเจอ “คุณพ่อ” ของเธอ
ฮาโหล ฮาโหล …….โทรมาทำไมไม่พูดล่ะครับ!!
โทรศัพท์บ้านมักจะมีแค่เครื่องเดียว หากคนในบ้านใช้อยู่เราก็ต้องเดินออกมาใช้โทรศัพท์ “สาธารณะ” พกเหรียญไปให้เต็มกระเป๋าเลย
เมื่อโทรศัพท์ “สาธารณะ” รุ่งเรืองมากๆ ก็มีการอำนวยความสะดวกด้วยการใช้บัตรเสียบแทนการหยอดเหรียญ
ในยุคนึงสมัยนึงเชื่อหรือไม่โทรศัพท์ “สาธารณะ” เราต้องเข้าคิวกันยาวเลยเชียว คนต่อคิวก็ต้องคอยจ้องเข้าไปขู่คนที่ใช้อยู่ เป็นนัยๆ ว่า “ตูรอนานแล้ว วางสายได้แล้ว”
สำหรับการหาเบอร์โทรศัพท์ร้านค้า โรงพยาบาล หรือสถานที่ต่างๆ เราต้องใช้ “สมุดหน้าเหลือง” หน้าตาแบบนี้แหละเคยเห็นกันไหม
เพื่อนในห้องเรียนอาจจะมีถึง 50 คน จำเบอร์กันไม่ไหว ก็ต้องจดใส่สมุดบันทึกเบอร์โทรศัพท์จิ๋วแบบนี้
การนัดกับเพื่อนในวันหยุดหากเป็นสมัยนี้แค่บอกเวลาและห้างที่จะไปเจอกัน พอถึงเวลาก็โทรหากันผ่านมือถือถามเอาได้เลยว่าอยู่ตรงไหน หรือจะ Line บอกก็ได้ แต่ลองคิดดูสมัยยุค 90 พวกเราไม่มีมือถือใช้กัน การจะนัดเพื่อนในวันหยุดเราต้องนัดเวลา สถานที่ๆ จะเจอแบบเฉพาะเจาะจงเลย เช่น เจอกันหน้า KFC แล้วหากใครไปก่อนก็ต้องไปนั่งรอสถานเดียว แล้วไปลุ่นกันว่าเพื่อนเราจะมาหรือไม่ ถ้ามันลืมนัดไปแล้วก็นั่งรอไปยาวๆ 555+
สมัยก่อนการหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำรายงานเราต้องไปที่ “หอสมุดแห่งชาติ” แต่สมัยนี้สามารถทำรายงานที่บ้านได้เลยอินเตอร์เน็ตช่วยได้มาก
เพจเจอร์ คืออุปกรณ์ที่นักธุรกิจสมัยนั้น ใช้ช่วยเหลือในการตามตัวเพื่อติดต่อสื่อสาร โดยผู้ใช้เพจเจอร์จะได้รับข้อความสั้นๆ ส่วนใหญ่จะบอกให้โทรกลับที่หมายเลขใด
หากคุณจะติดต่อกับคนที่มีเพจเจอร์คุณต้องโทรเข้าไปหา “โอเปอเรเตอร์” เพื่อบอกข้อความที่ต้องการส่งไปหาคนที่พกเพจเจอร์ เช่น ติดต่อกับเบอร์ xxxxxx, รีบกลับบ้านด่วน ฯลฯ เชื่อหรือไม่ว่าตามสถิติสมัยนั้น ข้อความที่นิยมมากที่สุดคือแนว “บอกรัก” (บอกรักกันผ่านคนกลางฟินมาก บอกไปเขินไป 555+)
สวัสดีครับ ขอส่งข้อความ “พี่คิดถึงน้องหมูมากๆ เลยจ่ะ พี่ไม่เจอน้องหมูมา 3 วันแล้ว ใจพี่แทบจะขาด อกพี่แทบจะระเบิด รักนะ จุ๊บๆ” แค่นี้ล่ะครับ
เรียบร้อยค่ะ น่ารักจุง เขินแทนเลย อิอิ
สมัยก่อนไม่มีทั้งอินเตอร์เน็ตและ Facebook หากจะรวมกลุ่มคุยกันจะต้องนัดกันเท่านั้น
ในช่วงปลายยุค 90 เริ่มจะมีการขายบัตรอินเตอร์เน็ตรายชั่วโมงเข้ามา คุณต้องขูดรหัสและนำมากรอกในระบบเพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ความเร็วก็เร็วมากๆ 56kbps ต่อก็ไม่ค่อยติด แถมยังหลุดบ่อยอีกด้วย ใช้ไปลุ้นไปเพราะการต่ออินเตอร์เน็ตแต่ละครั้งเราเสียค่าโทรศัพท์ด้วยครั้งละ 3 บาท วันนึงต่อ 20 ทีก็โดนไป 60 บาท สิ้นเดือนบิลเก็บเงินมาโดนแม่บ่นไฟแล็บ
ตอนต่อก็ต้องลุ้นว่าจะติดหรือไม่ติด (มันมากสมัยนั้น)
สมัยก่อนหนังสือและนิตยสารต่างๆ เฟื่องฟูมาก ใครอยากหาความรู้ความบันเทิงก็ต้องซื้อหนังสือมาอ่าน สมัยนี้ก้มหน้าที่จอส่วนตัวได้เลย
ขอบคุณข้อมูลจาก : Mthai
Facebook Comments