วันพุธ , พฤษภาคม 8 2024
Breaking News
Home / สุขภาพ / แอสไพริน อาจลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

แอสไพริน อาจลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

การศึกษาได้เชื่อมโยงการใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) เป็นประจำ ซึ่งเป็นยาแก้ปวดที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ประโยชน์ของมันคือช่วยลดความเสี่ยงที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งบางชนิด สิ่งที่ยังไม่ทราบแน่ชัดคือต้องใช้แอสไพรินในปริมาณเท่าใด ถึงจะมากเพียงพอเพื่อป้องกันมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้

ทีมวิจัยจากโรงพยาบาล Massachusetts General Hospital และ Harvard Medical School ได้รับข้อมูลจากการศึกษา 2 เรื่อง ได้แก่ the Nurses’ Health Study และ the Health Professionals Follow-Up Study ซึ่งพวกเขาได้วิเคราะห์ผลจากการใช้แอสไพรินจากกลุ่มเป้าหมายมากกว่า 130,000 ราย และได้รายงานผลการวิจัยล่าสุดของพวกเขาในที่ประชุมประจำปีของสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน

โดยรวมแล้วคนที่กินยาแอสไพรินเป็นประจำ จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลดลง 7%-11% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้กินอย่างสม่ำเสมอ ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดก็คือช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตในผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้หญิงที่กินยาแอสไพรินจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมลดลง และผู้ชายก็จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยลงด้วย

ดูเหมือนว่านี่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับคนที่กินยาแอสไพรินในปริมาณที่พอเหมาะเป็นประจำทุกวันเป็นเวลาประมาณ 6 ปี ซึ่งคนที่กินยาในปริมาณที่น้อยเกินไปก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้เช่นกัน

การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการลดการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแอสไพรินมีความสามารถที่จะช่วยการลดการอักเสบ มีผลในการลดประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เกล็ดเลือด และป้องกันการลุกลามของมะเร็งไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆได้

จากการวิจัยจะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างแอสไพรินกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่ลดลงนั้นเป็นที่น่าพอใจ แต่ผู้ป่วยมะเร็งไม่ควรที่หันมากินยาแอสไพรินเป็นประจําทุกวันโดยทันทีเนื่องจากยาตัวนี้มีผลข้างเคียงที่ทําให้เกิดแผลในกระเพาะและเลือดออกในช่องท้อง ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อันตรายพอสมควร แตกต่างจากอาสาสมัครที่กล้าเพื่อที่จะทดลองเพราะพวกเขาอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ขอบคุณที่มาจาก : health-th.com

Facebook Comments

Check Also

เช็กให้ดีก่อน! แชร์สนั่น “กล้วยตาก” น้ำตาลสูงปรี๊ด 64.1% มากกว่าทุเรียนเท่าตัว จริงหรือ?

แห่แชร์กันสนั่น …